Skip to content

อาการปวดหลังจากการขับรถจะหายไป
ถ้าปรับท่านั่งให้ถูกต้อง

ปกติท่าทางการนั่งของผู้ขับรถยนต์ทั่วไป จะใช้ขาในการทรงตัวและควบคุมรถ ทำให้เกิดอาการปวดหลังจากการขับรถที่มีความแตกต่างจากการนั่งเก้าอี้ธรรมดาทั่วไป เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณหลังต้องได้รับแรงสั่นสะเทือนจากการขับขี่ ความเร่งจากการเคลื่อนที่ของรถ รวมถึงแรงเหวี่ยงจากการเลี้ยวรถ เป็นต้น และที่สำคัญหากมีการขับในระยะทางไกลเป็นเวลานาน แน่นอนว่าอาการปวดหลังนั้นจะมีมากขั้นด้วยเช่นกัน เพราะการนั่งขับรถนานๆจะทำให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาท อยู่นิ่งนานเกินไป ดังนั้นการปรับท่านั่งให้ถูกต้องจึงเป็นวิธีการง่ายๆที่จะช่วยหลีกเลี่ยงอาการปวดหลังและลดผลเสียที่จะตามมาได้ดีที่สุด

ปรับเบาะที่นั่งให้พอดี

เพื่อลดอาการเมื่อยล้าและสร้างความมั่นคงในการทรงตัวขณะควบคุมรถ ควรปรับเบาะที่นั่งให้รองรับสรีระทุกส่วนอย่างกระชับพอดี

ปรับความสูงเบาะให้เหมาะสม

เพื่อทัศนวิสัยที่ดีในการขับขี่ ควรปรับระดับความสูงของเบาะ ให้ศรีษะห่างกับเพดานรถประมาณ 1 กำปั้น

เอนพนักพิงเล็กน้อย

เพื่อให้ลำตัวมีระยะห่างจากพวงมาลัยที่เหมาะสม ควรเอนพนักพิงทำมุมประมาณ 110 องศา จะทำให้พอดีกับช่วงกระดูกสันหลังมากขึ้น

ปวดหลังจากการขับรถ

ปรับระยะห่างพวงมาลัยให้พอดี

เพื่อให้สามารถเหยียบเบรกได้ถนัดมากที่สุด ควรปรับระยะห่างให้ขางอได้พอดีในขณะที่ขับขี่

ปรับหัวเบาะให้ได้ระดับ

เพื่อช่วยลดแรงกระแทรก ลดความปวดเมื่อยและเพิ่มความปลอดภัยในขณะขับรถ ควรปรับหัวเบาะให้ได้ระดับพอดีกับศรีษะ

จับพวงมาลัยให้ถูกวิธี

เพื่อการควบคุมพวงมาลัยได้ดีกว่า และไม่ทำให้หลุดมือได้ง่ายๆ ควรจับพวงมาลัยในตำแหน่ง 3 และ 9 นาฬิกา

วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนอาจแตกต่างกันไปตามสรีระร่างกายของแต่ละคน นอกจากจะต้องหลีกเลี่ยงอาการปวดหลังแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าการปรับท่านั่งให้เหมาะสมคือ การคำนึงถึงทัศนวิสัยในการขับขี่ที่ดี และหากเกิดความเมื่อยล้าจากการขับรถเป็นระยะเวลานานๆ ควรพักรถทุกๆ 2 ชั่วโมง พร้อมบริหารร่างกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลาย ก่อนออกเดินทางต่อได้อย่างปลอดภัย ด้วยความห่วงใยจาก SIAM.RENT 

Facebook
Twitter
LinkedIn