น้ำมันเบรก เรื่องสำคัญที่นักขับไม่ควรมองข้าม

ถ้าพูดถึงการเดินทางด้วยรถยนต์ แน่นอนว่าเป็นการขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ที่สะดวกสบาย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ การทำงานภายในระบบของเครื่องยนต์ต่างๆ ย่อมมีความเกี่ยวข้องกันอย่างปฏิเสธไม่ได้ สำหรับระบบที่ช่วยให้รถยนต์ชะลอความเร็วลงหรือหยุดการเคลื่อนที่ของรถยนต์นั่นก็คือ “ระบบเบรก” ส่วนสำคัญที่นักขับไม่ควรมองข้ามและควรเปลี่ยนทุกๆปี คือน้ำมันเบรก ซึ่งมีหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดแรงดันไปยังชุดปั๊มเบรก ทำให้เกิดการเบรกของรถยนต์

น้ำมันเบรก มีความสำคัญอย่างไร?

  • ช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนไหว ลดแรงเสียดทาน และป้องกันการสึกหรอของชิ้นส่วนภายในระบบเบรก
  • มีความหนืดที่เหมาะสม สำหรับอุณหภูมิทั้งร้อนและเย็น สำหรับระบบเบรก
  • ไม่กัดกร่อนโลหะ หรือ ชิ้นส่วนภายในระบบเบรก เช่น เหล็ก ทองแดง ทองเหลือง และอลูมิเนียม
  • ไม่เป็นอันตรายต่อซีลยาง หรือ ท่อยาง ไม่ทำให้เกิดการหดตัวและขยายตัว จนอาจทำให้ระบบเบรกเกิดการรั่วไหล
  • มีค่าจุดเดือดที่สูงกว่าน้ำ และไม่เกิดการระเหยได้ง่าย
น้ำมันเบรก

จุดเดือดแห้ง : น้ำมันเบรกใหม่ที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน

จุดเดือดเปียก : น้ำมันเบรกที่ผ่านการใช้งานมาแล้วประมาณ 1 ปี หรือ มีน้ำปนอยู่ 3.7%

ปัจจัยที่ส่งผลให้ “น้ำมันเบรก” เริ่มเสื่อมสภาพ

  1. ความชื้นของน้ำมันเบรก : คุณสมบัติหนึ่งของน้ำมันเบรกเป็นสารที่ดูดซับความชื้นได้ดี ทำให้ความชื้นในอากาศสามารถผสมปะปนอยู่ในน้ำมันเบรกได้ ส่งผลให้น้ำมันเบรกมีจุดเดือดที่ลดลง ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดสนิมในระบบเบรก จนนำไปสู่การเกิดรอยรั่วต่างๆ เราแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันเบรกทุกๆ 1 ปี
  2. ความร้อนของน้ำมันเบรก : คุณสมบัติการซึมซับความร้อนของน้ำมันเบรก จากการเบรกกะทันหัน เบรกบ่อยๆ หรือเบรกในขณะที่รถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ในกรณีที่ระบายความร้อนสู่ส่วนอื่นไม่ทัน น้ำมันเบรกจะระเหยเป็นไอภายในกระบอกสูบ ทำให้แรงดันลดลงจนรถยนต์มีอาการเบรกไม่อยู่ เบรกลึก หรือ เบรกแตกในที่สุด
น้ำมันเบรก

ข้อควรรู้

  • ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก ทุกๆ 1 ปี หรือ 25,000 กิโลเมตร
  • ไม่ควรเติมน้ำมันเบรก ต่างยี่ห้อ หรือ ต่างDOT ผสมปนกัน อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาทางลบต่อกันได้
  • ผู้ผลิตรถยนต์บางรุ่นจะมีการกำหนดให้ใช้น้ำมันเบรก DOT3 หรือ DOT4 โดยที่ส่วนใหญ่ รถยนต์จากโรงงานมักจะเติม DOT3 มาให้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถเปลี่ยนถ่ายใช้ DOT4 หรือ DOT5 ที่มีจุดเดือดที่สูงกว่าได้
Facebook
Twitter
LinkedIn